วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

FLORIDA TAXONOMY


FLORIDA TAXONOMY

(ปรับจาก Bloom’s Taxonomy) นำไปใช้กับเรื่องของภาษา

จัดทำโดย อาจารย์ละเอียด  จุฑานันท์



การกระจายพฤติกรรมด้านพุทธนิสัย (Cognitive Behaviour)




๑. ความรู้ความจำ (Knowledge)



          ๑.๑  ความรู้เรื่องที่เฉพาะเจาะจง

                   ๑.๑.๑  อ่าน

                   ๑.๑.๒  สะกดตัว

                   ๑.๑.๓  บอกชื่อสิ่งของ

                   ๑.๑.๔  อธิบายความหมายของคำ

                   ๑.๑.๕  ให้ข้อเท็จจริงที่เฉพาะเจาะจง

                   ๑.๑.๖  เล่าเหตุการณ์

          ๑.๒  ความรู้เกี่ยวกับแนวทางและวิธีการที่จะดำเนินการกับเรื่องที่เฉพาะเจาะจง

                   ๑.๒.๑  จุดจำสัญลักษณ์

                   ๑.๒.๒  ท่องจำกฏเกณฑ์

                   ๑.๒.๓  ลำดับเหตุการณ์ต่อเนื่องตามระยะเวลา

                   ๑.๒.๔  ให้ขั้นตอนของกระบวนการ, บรรยายวิธีการ

                   ๑.๒.๕  ท่องจำแนวโน้ม  ทิศทาง

                   ๑.๒.๖  บอกชื่อระบบ  หรือ  มาตรฐานการจำแนก

                   ๑.๒.๗  ตั้งชื่อที่เหมาะสมกับระบบ หรือมาตรฐานที่ให้

          ๑.๓  ความรู้เกี่ยวกับเรื่องทั่วไป  หรือเรื่องที่เกี่ยวกับนามธรรม

                   ๑.๓.๑  ย้ำความคิดรวบยอด  หรือความคิดเห็นที่สรุปแล้วได้

                   ๑.๓.๒  ย้ำกฎเกณฑ์  กฏหมาย  ทฤษฎี

                   ๑.๓.๓  บอกเกี่ยวกับองค์การหรือโครงสร้าง

                   ๑.๓.๔  ระลึกถึงชื่อของกฎกเณฑ์  กฎหมาย  ทฤษฎี




๒.  ความเข้าใจ (Comprehension)



          ๒.๑  การแปล

                   ๒.๑.๑  พูดซ้ำโดยใช้คำของตนเอง  หรือข้อความที่สั้นกว่าเดิม

                   ๒.๑.๒  ให้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม

                   ๒.๑.๓  พูดจากสิ่งที่เป็นข้อเขียน

                   ๒.๑.๔  แปลความที่พูดเป็นข้อเขียน

                   ๒.๑.๕  แปลข้อความที่เป็นภาพให้เป็นข้อความที่เป็นตัวอักษรหรือกลับกัน

                   ๒.๑.๖  แปลภาษาอื่นเป็นภาษาอังกฤษหรือกลับกัน

          ๒.๒  การตีความ

                   ๒.๒.๑  ให้เหตุผล  (บอกว่ามำไม)

                   ๒.๒.๒  แสดงความเหมือน ความแตกต่าง

                   ๒.๒.๓.  ย่อหรือสรุปจากการสังเกตสิ่งที่เห็น

                   ๒.๒.๔  แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

                   ๒.๒.๕  ให้คำอุปมา  ข้อความเปรียบเทียบให้เห็นเด่นชัด

                   ๒.๒.๖  ปฏิบัติงาน  หรือขบวนการตามที่ได้รับคำสั่ง




๓.   การนำไปใช้ (Application)



          ๓.๑  ประยุกต์การเรียนรู้ที่เรียนแล้วให้เช้ากับสถานการณ์ใหม่

          ๓.๒  ประยุกต์หลักเกณฑ์ให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่

          ๓.๓  ประยุกต์ความรู้ที่เป็นนามธรรมให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นการปฏิบัติ

          ๓.๔  บอกลักษณะ  เลือก  และดำเนินงานตามขบวนการให้เป็นผลสำเร็จ




๔.  การวิเคราะห์ (Analysis)



          ๔.๑  แยกข้อแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น

          ๔.๒  แยกข้อแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงและสมมุติฐาน

          ๔.๓  แยกข้อแตกต่างระหว่างข้อสรุป กับข้อความย่อยที่เป็นเหตุผลสนับสนุนของมัน

          ๔.๔  ชี้ให้เห็นข้อสันนิษฐานที่ไม่ได้กำหนดไว้

          ๔.๕  แสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของส่วนต่างๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น